วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม



1.การออกกำลังกาย
2.การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

         -รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาทิ ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา หรืออีกหลายๆชนิด
         -หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
         -หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บทางศรีษะ
         -มีกิจกรรมทางกาย เช่น ทำงานบ้าน เดินแทนการนั่งรถ ทำสวน ฯลฯ
         -มีกิจกรรมทางสังคม
         -ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
         -ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน

3.เกมฝึกสมอง-เชื่อมสมอง 2 ซีก



5วิธีง่ายๆ ทำให้สมองฉลาดขึ้น

5วิธีง่ายๆ ทำให้สมองฉลาดขึ้น


1.เล่นทายปัญหากับเพื่อนๆ

                    ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์



2.หัดเรียนภาษาที่ 2 ที่

                       ส่งผลต่อการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ-ทำงานดีมากขึ้น


3.นอนให้เยอะ 

                       ช่วยให้สมองมีความจำดี


4.ดื่มให้มาก 

                        ขาดน้ำทำให้เป็นคนคิดช้า คิดไม่ออก


5.ห้ามพลาดมื้อเช้า

                          ขาดสารอาหารไปเลี้ยงสมองเป็นสาเหตุของสมองเสื่อม




ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล

ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล

                      ปัญหาสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว เพื่อเป็นแนวทาง และทำความเข้าใจกับโรคนี้
                                * ทำความเข้าใจ ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม ไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
                               * ให้ความรัก การดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ เมื่อผู้ดูแลตระหนักว่ายังมีความรักให้กับผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็จะสรรหาวิธีการรักษาการดูแลด้านจิตใจ และอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
                               * รู้ขีดจำกัดของตนเอง นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย รู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้ง
ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่ผู้ดูแลใหม่
                     ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตอาจเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยและให้ความรัก ให้ผู้ป่วยยังคงรู้สึกมีศักดิ์ศรีอย่างที่มีมาตลอด ซึ่งบุคคลที่จะมาเป็นผู้ดูแลนั้นควรเป็นคนในครอบครัวคนใกล้ชิด หรือลูกหลานที่รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว รู้ว่าผู้ป่วยชอบหรือไม่ชอบอะไร สามารถทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ป่วยได้ เพราะการดูแลด้วยความรักและความเข้าใจจากบุคคลในครอบครัวนั้นจะช่วยส่งเสริมภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษา 

                  สำหรับการรักษา แพทย์หญิงสสิธร ศิริโท ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาอธิบายว่า “เมื่อผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนพอจะเริ่มการรักษาให้ตรงกับอาการแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณารูปแบบการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา”
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้น มีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้และรักษาไม่ได้ หากวิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ก็จะวินิจฉัยหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและจะเริ่มการรักษาตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่ถ้าสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเอง (Neurodegenerative)แพทย์ก็จะพิจารณารักษาอาการตามระดับความรุนแรง “ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มาทำลายแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ ยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของแอซิติลโคลีน เป็นการรักษาตามอาการ โดยการปรับระดับของสารสื่อประสาทให้มีมากขึ้น แต่ต้องย้ำว่าการรักษาด้วยยานี้ไม่ได้ทำให้โรคหายขาด เพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับผลกระทบน้อยลง” แพทย์หญิงสสิธรกล่าว
ส่วนการรักษาที่ไม่ใช้ยานั้น แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ การบริหารสมอง และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด “การบริหารสมองแพทย์จะหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดหรือเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น เช่น ให้เล่นเกมส์ Sudoku อ่านหนังสือ ควบคู่ไปกับการเน้นความสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการแนะนำการดูแลที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การจัดสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมไปถึงให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อรักษาสภาพทางจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยผู้ดูแล และครอบครัว”

ผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อป่วยแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไร

ผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อป่วยแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไร 

                  เป็นการยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่แล้ว ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมของผู้ป่วย และสุขภาพโดยส่วนรวม ถ้าพูดถึงโรคอัลไซเมอร์แล้ว โดยเฉลี่ยผู้ป่วยมักจะมีชีวิตได้ราว 10 ปี บางรายอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 20 ปี แต่ในบางรายอาการของโรคจะไปเร็วมาก อาจจะเสียชีวิตภายใน 2-3 ปี พบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมอื่น ๆ นั้น ถ้าหากว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดำเนินโรคเกี่ยวกับทางสมองเสื่อมจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้ป่วยเหล่านี้มีปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่นต้องเข้าโรงพยาบาล หกล้มสะโพกหักต้องผ่าตัด เป็นหวัดปอดบวม หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ คนไข้พวกนี้อาการสมองเสื่อมจะเลวลงอย่างมาก มีการติดเชื้อในช่วงที่พักรักษาตัวด้วยปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และถึงแม้จะรักษาโรคทางกายอื่น ๆ เหล่านั้นหายเรียบร้อยแล้ว อาการทางสมอง และความจำมักจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ แต่อย่างไรก็ตามที เรื่องความจำก็จะยังแย่กว่าที่คนไข้เคยเป็นช่วงก่อนที่จะไม่สบาย ดังนั้นจึงอยากจะแนะนำผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ว่า จะต้องดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ มีสารอาหารครบถ้วน หรือ บริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ให้มีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการทรงตัวที่ดี ลดโอกาสที่จะหกล้ม ระมัดระวังอย่าให้ไม่สบายเป็นหวัด ระมัดระวังการใช้ยาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะยาบางชนิดทำให้อาการสมองเสื่อมเลวลง การระมัดระวังเหล่านี้ จะทำให้การดำเนินโรคสมองเสื่อมช้าลง

10 สัญญาณบอกความเสี่ยง “โรคสมองเสื่อม”

10 สัญญาณบอกความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม


         1.ความจำเสื่อมระยะสั้น  ถามซ้ำไปซ้ำมา ลืมว่าเมื่อครู่พูดอะไร ลืมนัดหมายสำคัญ
         2.สิ่งที่ทำเป็นประจำดูยากขึ้น  เช่น ลืมเครื่องปรุงของอาหารที่เคยทำเป็นประจำ
         3.มีปัญหาในการใช้ภาษา  เช่น  พูดไม่รู้เรื่อง ใช้คำพูดเรียงลำดับคำผิด  หรือคิดไม่ออกว่าจะใช้คำว่าอะไร
         4.สับสนเรื่องเวลาและทิศทาง  มักจะคิดว่าเวลาผ่านไปนานกว่าปกติ มักหลงทางกลับบ้านไม่ถูก
         5.สับสนเรื่องภาพและความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ  เช่น  การอ่าน การตัดสินใจและการแยกความแตกต่างทำได้ยากขึ้น ทั้งในเรื่องระยะทางและสี จนอาจเป็นปัญหาด้านการขับรถ
         6.สติปัญญาด้อยลง  คิดเรื่องยากๆหรือแก้ปัญหาไม่ค่อยได้  และมีการตัดสินใจผิดพลาด
         7.วางของผิดที่ผิดทาง  เช่น  เอารีโมททีวีไปใส่ว้ในตู้เย็น  โดยไม่สังเกตและไม่คิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ  และยังใช้ชีวิตไปตามปกติ ทั้งที่ของวางผิดที่อยู่อย่างนั้น
         8.อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว  เช่น  เดี่ยวโกรธ เดี่ยวร้องไห้ เดี่ยวก็สงบนิ่ง
         9.บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป  เช่น เฉยเมยไร้อารมณ์ ไม่ยินดียินร้ายต่องสิ่งรอบตัวหรือมพฤติกรรมที่แต่ก่อนไม่เคยเป็นมาก่อน
        10.ขาดความคิดริเร่ม กลายเป็นคนเฉื่อยๆ ต้อมีการกระตุ้น
           

10 พฤติกรรมทำลายสมอง

10 พฤติกรรมทำลายสมอง




     1.ไม่ได้ทานอาหารเช้า  ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำ  ไม่เพียงพอไปเลี้ยงสมอง
       2.ตอบสนองแบบโอเวอร์  เส้นเลือดในสมองเกิดอาการแข็ง
       3.ติดหวาน ทานน้ำตาลเยอะ ขัดขวางการพัฒนาของสมอง
       4.มีสิ่งของบังใบหน้าขณะนอนหรือนอนคว่ำ  กระตุ้นการตายของเซลล์สมอง
       5.นอนนอ้ย พักผ่อนไม่เพียงพอ  เร่งการตายของเซลล์สมอง
       6.สูบบุหรี่  สมองหดตัว เสี่ยงอัลไซเมอร์
       7.ไม่ได้ใช้ความคิดนำสู่ภาวะหดตัวของสมอง
       8.ไม่พูดไม่จา  ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
       9.ทำงานหนักระหว่างป่วย  เป็นการทำลายสอมง


      10.สูดดมมลพิษ  ออกซิเจนน้อยส่งผลต่อการทำงานของสมอง 

สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม

 สาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม
             สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50
             “ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่
                     1.โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ ภาวะสมองเสื่อมชนิดที่รักษาได้นั้น ส่วนมากมักมาจากโรคทางกายซึ่งหลายครั้งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Vascular dementia) ซึ่งมีสาเหตุจากความดันไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย อาการคล้ายโรคสมองเสื่อมก็จะดีขึ้นหรือหายไป”
                     2.ภาวะสมองเสื่อมอีกแบบที่ไม่สามารถรักษาได้ มักเกิดจากพยาธิสภาพบางประการในสมอง  เกิดจากการก่อตัวอย่างผิดปกติของโปรตีนอะไมลอยด์ในเนื้อสมองซึ่งในสมองคนสูงอายุทั่วไป สามารถพบโปรตีนดังกล่าวได้ แต่จะมีปริมาณไม่มากเท่ากับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

สมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุหลายประการ 
               1. เกิดจากการเสื่อมสลายของสมอง หมายความว่า เนื้อสมองมีการเสื่อมสลาย หรือมีการตายเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ไม่ทราบว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นทำให้เนื้อสมองมีการตาย โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และยังมีโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค                    2. โรคสมองเสื่อมเกิดจากหลอดเลือดสมอง กลุ่มนี้เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีการหนาตัว แข็งตัว หรือมีการตีบตัวผิดปกติ ทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง
               3. สมองเสื่อมที่เกิดจากการติดเชื้อในสมอง มีเชื้อไวรัสหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในสมอง ตัวอย่างเช่น เชื้อไวรัสสมองอักเสบที่เกิดจากไวรัสที่ติดมาจากหมู ท่านอาจจะเคยทราบข่าวว่า มีการระบาดของไวรัสนี้ในที่ประเทศมาเลเซีย มี หมูมีเชื้อโรคอยู่ในตัว ยุงไปกัดหมูเอาเชื้อโรคจากหมูมาสู่ยุง แล้วยุงนั้นไปกัดคนอีกต่อหนึ่ง คนที่ถูกกัดจะมีอาการไข้ และไวรัสจะขึ้นสมอง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะถึงแก่ความตาย ผู้ป่วยที่ไม่เสียชีวิต ก็จะมีการเสียหายของเนื้อ ซึ่งความเสียหายนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อสมอง เนื้อสมองบางส่วนที่ตายไป ทำให้ความสามารถของสมองเสื่อมลงไป เสียหายไปในช่วงที่เจ็บป่วยผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว นอนตลอดเวลา ถ้าอาการดีขึ้นจะเริ่มรู้ตัว แต่มักจะจำอะไรหรือจำใครไม่ได้ อาจมีพฤติกรรมแปลก ๆ บางคนเอะอะโวยวาย บางคนแสดงอาการว่าเห็นภาพหลอน ซึ่งเป็นลักษณะของสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง
               4. สมองเสื่อมจากการขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน เช่น วิตามิน B1 หรือวิตามิน B12 วิตามิน B1 เป็นสารช่วยทำให้การทำงานของเซลล์สมองเป็นไปอย่างปกติ
               5. สมองเสื่อมจากการแปรปรวนของเมตาโบลิกของร่างกาย เช่นการทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดผิดปกติไป เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากไป หรือทำงานน้อยไป การทำงานของตับหรือของไตผิดปกติไป จะทำให้เกิดของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ ถ้าภาวะอย่างนี้เป็นอยู่นาน ๆ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการสมองเสื่อมได้
               6. สมองเสื่อมจากการถูกกระทบกระแทกที่ศรีษะอยู่เสมอ ๆ ภาวะนี้พบบ่อยในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ที่จะมีการกระทบกระแทกที่ศีรษะ โดยเฉพาะพวกนักมวย นักกีฬาบางชนิดที่ต้องใช้ศีรษะกระแทกสิ่งต่าง ๆ หรืออาจจะพบในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา เมาแล้วก็เดินชนโน่นชนนี่ หรือหกล้มศีรษะฟาดพื้น ถ้าเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื้อสมองที่กระทบกระแทกกระเทือนนั้นจะตายไป เมื่อเนื้อสมองตายไปจำนวนมากเข้า ก็จะทำให้การทำงานไม่เป็นปกติ มีอาการสมองเสื่อมได้
               7. สมองเสื่อมจากเนื้องอกในสมอง โดยเฉพาะเนื้องอกที่เกิดจากทางด้านหน้าของสมอง ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการแบบที่พบในเนื้องอกสมองส่วนอื่น เช่น อาการแขนขาไม่มีแรง มองเห็นภาพซ้อน หรืออาการซึ่งแสดงว่ามีความดันในกระโหลกศีรษะมากขึ้น