วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล

ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล

                      ปัญหาสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว เพื่อเป็นแนวทาง และทำความเข้าใจกับโรคนี้
                                * ทำความเข้าใจ ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม ไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
                               * ให้ความรัก การดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ เมื่อผู้ดูแลตระหนักว่ายังมีความรักให้กับผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็จะสรรหาวิธีการรักษาการดูแลด้านจิตใจ และอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
                               * รู้ขีดจำกัดของตนเอง นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย รู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้ง
ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่ผู้ดูแลใหม่
                     ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตอาจเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยและให้ความรัก ให้ผู้ป่วยยังคงรู้สึกมีศักดิ์ศรีอย่างที่มีมาตลอด ซึ่งบุคคลที่จะมาเป็นผู้ดูแลนั้นควรเป็นคนในครอบครัวคนใกล้ชิด หรือลูกหลานที่รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว รู้ว่าผู้ป่วยชอบหรือไม่ชอบอะไร สามารถทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ป่วยได้ เพราะการดูแลด้วยความรักและความเข้าใจจากบุคคลในครอบครัวนั้นจะช่วยส่งเสริมภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

16 ความคิดเห็น:

  1. ดีจริงๆๆๆ
    ไลค์เลย👍👍👍

    ตอบลบ
  2. เรานอนหลับไม่เพียงพอเรยค่ะ นอนดึกตื่นเช้า ทุกวันเรยยย

    ตอบลบ
  3. นำความรู้ที่ได้อ่านไปปฏิบัติ กับ ผู้สูงอายุได้

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ26 ตุลาคม 2558 เวลา 23:04

    เยี่ยมเลยค่ะ เนื้อหาดี

    ตอบลบ
  5. เอาไปใช้ในชีวิตได้เลยนะเนี้ย

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ30 ตุลาคม 2558 เวลา 20:56

    เข้าใจง่ายดีค้าาาาา

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ30 ตุลาคม 2558 เวลา 20:57

    ขอบคุนสำหรับข้อมูลดีๆค้ะ

    ตอบลบ
  8. ข้อมูลโอเคเรยค้ะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ30 ตุลาคม 2558 เวลา 23:52

    ขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับ

    ตอบลบ
  10. อ่านเข้าใจง่ายดี มีประโยชน์ด้วย

    ตอบลบ
  11. กลัวโรคนี้จังเลยคะ ทำให้อยากดูแลตัวเองมากขึ้นกว่านี้เลยค่ะ

    ตอบลบ
  12. อ่านเข้าใจง่ายดี มีประโยชน์ด้วย

    ตอบลบ
  13. โรคนี้อันตรายมากๆเลย

    ตอบลบ
  14. ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ นำไปปฏิบัติจริงได้ด้วย

    ตอบลบ
  15. เยี่่ยมมม ค้าาา

    ตอบลบ