วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
อาหารบำรุงสมอง
อาหารบำรุงสมอง
1.ปลาแซลมอน : จะอุดมไปด้วยกรดไขมัน มีโอเมก้า3DHAและ EPAซึงมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกยและสมอง
2.ไข่:ในไข่1ฟอง จะอุดมไปด้วยโปรตีน ยิ่งตรงไข่แดงจะมีโปรตีนมากที่สุด และยังช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงร่างกายและยังช่วยฟื้นฝูสุขภาพ
3.เนย:มีสารเลซิตินช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องระบบประสาท ช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มความจำ
4.ธัญพีช:เช่น ซีเรียวธัญพีช รำข้าว หรือข้าวซ้อมมือจะให้พลังงานสูง และมีเส้นใย ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีวิตมินบีช่วยในเรื่องของความจำและสมอง
5.ข้าวโอ๊ต:มีวิตามินบี โทแทสเซียมและสังกะสี หากทานข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้าประจำ จะทำให้สมองและร่างกายทำงานได้อย่างมีความเหมาะสม
6.ผลไม้ตระกูลเบอ์รี่: มีวิตามินซี และโอเมก้า 3 ช่วยในเรื่องของความจำและระบบระสาทสมอง
7.ถั่ว:เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารสมองชั้นดี เพราะช่วยเพิ่มระดับพลังงานแก่ร่างกายได้ จะช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง และช่วยในการเจริญเติบโต
8.ผักสีสด:มีแร่ธ่าตุและวิตามินจำนวนมาก มีสารในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและรักษาเซลล์สมองให้แข็งแรงขึ้น
9.นมหรือโยเกริ์ต:เป็นอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อสมองและเอนไซม์ ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง และช่วยในการพัฒนาสมอง
10.เนื้อไม่ติดมัน:ซึ่งเนื้อไม่ติดมันจะมีเกลือแร่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเด็กเพราะช่วยพัฒนาความจำได้ด้วย
1.ปลาแซลมอน : จะอุดมไปด้วยกรดไขมัน มีโอเมก้า3DHAและ EPAซึงมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกยและสมอง
2.ไข่:ในไข่1ฟอง จะอุดมไปด้วยโปรตีน ยิ่งตรงไข่แดงจะมีโปรตีนมากที่สุด และยังช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงร่างกายและยังช่วยฟื้นฝูสุขภาพ
3.เนย:มีสารเลซิตินช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องระบบประสาท ช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มความจำ
4.ธัญพีช:เช่น ซีเรียวธัญพีช รำข้าว หรือข้าวซ้อมมือจะให้พลังงานสูง และมีเส้นใย ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีวิตมินบีช่วยในเรื่องของความจำและสมอง
5.ข้าวโอ๊ต:มีวิตามินบี โทแทสเซียมและสังกะสี หากทานข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้าประจำ จะทำให้สมองและร่างกายทำงานได้อย่างมีความเหมาะสม
6.ผลไม้ตระกูลเบอ์รี่: มีวิตามินซี และโอเมก้า 3 ช่วยในเรื่องของความจำและระบบระสาทสมอง
7.ถั่ว:เป็นแหล่งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารสมองชั้นดี เพราะช่วยเพิ่มระดับพลังงานแก่ร่างกายได้ จะช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง และช่วยในการเจริญเติบโต
8.ผักสีสด:มีแร่ธ่าตุและวิตามินจำนวนมาก มีสารในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันและรักษาเซลล์สมองให้แข็งแรงขึ้น
9.นมหรือโยเกริ์ต:เป็นอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อสมองและเอนไซม์ ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง และช่วยในการพัฒนาสมอง
10.เนื้อไม่ติดมัน:ซึ่งเนื้อไม่ติดมันจะมีเกลือแร่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเด็กเพราะช่วยพัฒนาความจำได้ด้วย
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558
การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
การป้องกันภาวะสมองเสื่อม
2.การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาทิ ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา หรืออีกหลายๆชนิด
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
-หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บทางศรีษะ
-มีกิจกรรมทางกาย เช่น ทำงานบ้าน เดินแทนการนั่งรถ ทำสวน ฯลฯ
-มีกิจกรรมทางสังคม
-ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
-ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
3.เกมฝึกสมอง-เชื่อมสมอง 2 ซีก
5วิธีง่ายๆ ทำให้สมองฉลาดขึ้น
5วิธีง่ายๆ ทำให้สมองฉลาดขึ้น
1.เล่นทายปัญหากับเพื่อนๆ
ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์
2.หัดเรียนภาษาที่ 2 ที่3
ส่งผลต่อการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ-ทำงานดีมากขึ้น
3.นอนให้เยอะ
ช่วยให้สมองมีความจำดี
4.ดื่มให้มาก
ขาดน้ำทำให้เป็นคนคิดช้า คิดไม่ออก
5.ห้ามพลาดมื้อเช้า
ขาดสารอาหารไปเลี้ยงสมองเป็นสาเหตุของสมองเสื่อม
ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล
ข้อควรรู้สำหรับผู้ดูแล
ปัญหาสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว เพื่อเป็นแนวทาง และทำความเข้าใจกับโรคนี้
* ทำความเข้าใจ ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม ไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
* ให้ความรัก การดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ เมื่อผู้ดูแลตระหนักว่ายังมีความรักให้กับผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็จะสรรหาวิธีการรักษาการดูแลด้านจิตใจ และอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
* รู้ขีดจำกัดของตนเอง นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย รู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้ง
ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่ผู้ดูแลใหม่
ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตอาจเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยและให้ความรัก ให้ผู้ป่วยยังคงรู้สึกมีศักดิ์ศรีอย่างที่มีมาตลอด ซึ่งบุคคลที่จะมาเป็นผู้ดูแลนั้นควรเป็นคนในครอบครัวคนใกล้ชิด หรือลูกหลานที่รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว รู้ว่าผู้ป่วยชอบหรือไม่ชอบอะไร สามารถทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ป่วยได้ เพราะการดูแลด้วยความรักและความเข้าใจจากบุคคลในครอบครัวนั้นจะช่วยส่งเสริมภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ปัญหาสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงเลยทีเดียว เพื่อเป็นแนวทาง และทำความเข้าใจกับโรคนี้
* ทำความเข้าใจ ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของผู้ป่วย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม ไปจนถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่แกล้งทำ
* ให้ความรัก การดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ เมื่อผู้ดูแลตระหนักว่ายังมีความรักให้กับผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็จะสรรหาวิธีการรักษาการดูแลด้านจิตใจ และอื่น ๆ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้ โดยการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
* รู้ขีดจำกัดของตนเอง นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย รู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ บางครั้ง
ผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นนอกจากผู้ดูแลจะมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แล้ว ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่ผู้ดูแลใหม่
ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตอาจเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยและให้ความรัก ให้ผู้ป่วยยังคงรู้สึกมีศักดิ์ศรีอย่างที่มีมาตลอด ซึ่งบุคคลที่จะมาเป็นผู้ดูแลนั้นควรเป็นคนในครอบครัวคนใกล้ชิด หรือลูกหลานที่รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว รู้ว่าผู้ป่วยชอบหรือไม่ชอบอะไร สามารถทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้ป่วยได้ เพราะการดูแลด้วยความรักและความเข้าใจจากบุคคลในครอบครัวนั้นจะช่วยส่งเสริมภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษา
สำหรับการรักษา แพทย์หญิงสสิธร ศิริโท ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาอธิบายว่า “เมื่อผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนพอจะเริ่มการรักษาให้ตรงกับอาการแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณารูปแบบการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา”
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้น มีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้และรักษาไม่ได้ หากวิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ก็จะวินิจฉัยหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและจะเริ่มการรักษาตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่ถ้าสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเอง (Neurodegenerative)แพทย์ก็จะพิจารณารักษาอาการตามระดับความรุนแรง “ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มาทำลายแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ ยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของแอซิติลโคลีน เป็นการรักษาตามอาการ โดยการปรับระดับของสารสื่อประสาทให้มีมากขึ้น แต่ต้องย้ำว่าการรักษาด้วยยานี้ไม่ได้ทำให้โรคหายขาด เพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับผลกระทบน้อยลง” แพทย์หญิงสสิธรกล่าว
ส่วนการรักษาที่ไม่ใช้ยานั้น แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ การบริหารสมอง และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด “การบริหารสมองแพทย์จะหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดหรือเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น เช่น ให้เล่นเกมส์ Sudoku อ่านหนังสือ ควบคู่ไปกับการเน้นความสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการแนะนำการดูแลที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การจัดสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมไปถึงให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อรักษาสภาพทางจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยผู้ดูแล และครอบครัว”
สำหรับการรักษา แพทย์หญิงสสิธร ศิริโท ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาอธิบายว่า “เมื่อผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนพอจะเริ่มการรักษาให้ตรงกับอาการแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณารูปแบบการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา”
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้น มีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้และรักษาไม่ได้ หากวิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ก็จะวินิจฉัยหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและจะเริ่มการรักษาตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่ถ้าสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเอง (Neurodegenerative)แพทย์ก็จะพิจารณารักษาอาการตามระดับความรุนแรง “ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มาทำลายแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ ยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของแอซิติลโคลีน เป็นการรักษาตามอาการ โดยการปรับระดับของสารสื่อประสาทให้มีมากขึ้น แต่ต้องย้ำว่าการรักษาด้วยยานี้ไม่ได้ทำให้โรคหายขาด เพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับผลกระทบน้อยลง” แพทย์หญิงสสิธรกล่าว
ส่วนการรักษาที่ไม่ใช้ยานั้น แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ การบริหารสมอง และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด “การบริหารสมองแพทย์จะหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดหรือเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น เช่น ให้เล่นเกมส์ Sudoku อ่านหนังสือ ควบคู่ไปกับการเน้นความสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการแนะนำการดูแลที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การจัดสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมไปถึงให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อรักษาสภาพทางจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยผู้ดูแล และครอบครัว”
ผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อป่วยแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไร
ผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อป่วยแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไร
เป็นการยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่แล้ว ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมของผู้ป่วย และสุขภาพโดยส่วนรวม ถ้าพูดถึงโรคอัลไซเมอร์แล้ว โดยเฉลี่ยผู้ป่วยมักจะมีชีวิตได้ราว 10 ปี บางรายอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 20 ปี แต่ในบางรายอาการของโรคจะไปเร็วมาก อาจจะเสียชีวิตภายใน 2-3 ปี พบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมอื่น ๆ นั้น ถ้าหากว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดำเนินโรคเกี่ยวกับทางสมองเสื่อมจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้ป่วยเหล่านี้มีปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่นต้องเข้าโรงพยาบาล หกล้มสะโพกหักต้องผ่าตัด เป็นหวัดปอดบวม หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ คนไข้พวกนี้อาการสมองเสื่อมจะเลวลงอย่างมาก มีการติดเชื้อในช่วงที่พักรักษาตัวด้วยปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และถึงแม้จะรักษาโรคทางกายอื่น ๆ เหล่านั้นหายเรียบร้อยแล้ว อาการทางสมอง และความจำมักจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ แต่อย่างไรก็ตามที เรื่องความจำก็จะยังแย่กว่าที่คนไข้เคยเป็นช่วงก่อนที่จะไม่สบาย ดังนั้นจึงอยากจะแนะนำผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ว่า จะต้องดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ มีสารอาหารครบถ้วน หรือ บริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ให้มีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการทรงตัวที่ดี ลดโอกาสที่จะหกล้ม ระมัดระวังอย่าให้ไม่สบายเป็นหวัด ระมัดระวังการใช้ยาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะยาบางชนิดทำให้อาการสมองเสื่อมเลวลง การระมัดระวังเหล่านี้ จะทำให้การดำเนินโรคสมองเสื่อมช้าลง
เป็นการยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่แล้ว ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมของผู้ป่วย และสุขภาพโดยส่วนรวม ถ้าพูดถึงโรคอัลไซเมอร์แล้ว โดยเฉลี่ยผู้ป่วยมักจะมีชีวิตได้ราว 10 ปี บางรายอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 20 ปี แต่ในบางรายอาการของโรคจะไปเร็วมาก อาจจะเสียชีวิตภายใน 2-3 ปี พบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมอื่น ๆ นั้น ถ้าหากว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี อาการดำเนินโรคเกี่ยวกับทางสมองเสื่อมจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้ป่วยเหล่านี้มีปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่นต้องเข้าโรงพยาบาล หกล้มสะโพกหักต้องผ่าตัด เป็นหวัดปอดบวม หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ คนไข้พวกนี้อาการสมองเสื่อมจะเลวลงอย่างมาก มีการติดเชื้อในช่วงที่พักรักษาตัวด้วยปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และถึงแม้จะรักษาโรคทางกายอื่น ๆ เหล่านั้นหายเรียบร้อยแล้ว อาการทางสมอง และความจำมักจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ แต่อย่างไรก็ตามที เรื่องความจำก็จะยังแย่กว่าที่คนไข้เคยเป็นช่วงก่อนที่จะไม่สบาย ดังนั้นจึงอยากจะแนะนำผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ว่า จะต้องดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ มีสารอาหารครบถ้วน หรือ บริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ให้มีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการทรงตัวที่ดี ลดโอกาสที่จะหกล้ม ระมัดระวังอย่าให้ไม่สบายเป็นหวัด ระมัดระวังการใช้ยาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะยาบางชนิดทำให้อาการสมองเสื่อมเลวลง การระมัดระวังเหล่านี้ จะทำให้การดำเนินโรคสมองเสื่อมช้าลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)